แชร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาลดบวม ลดอักเสบ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

แชร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาลดบวม-01

 

เมื่อพูดถึงยาลดบวม อักเสบแล้วนั้น คงหนีไม่พ้น “ใบบัวบก” แต่ส่วนใหญ่ใบบัวบกมักจะถูกผลิตในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เข้ามาช่วยเรื่องอาการบวมช้ำ อักเสบ โดยเป็นที่นิยมใช้เป็นยาลดบวมหลังศัลยกรรม แต่อย่างไรก็ตามยาแก้อักเสบก็เป็นยาที่ต้องใช้บรรเทาอาการบวมช้ำได้ ซึ่งตัวยาลดบวม ลดอักเสบนี้เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ช่วยลดไข้ ลดอาการบวมแดงได้ สำหรับบุคคลที่ศัลยกรรมมานั้น มักนิยมที่จะรับประทานร่วมกันทั้งยาแก้อักเสบและอาหารเสริมลดบวมช้ำ แม้จะสามารถทานร่วมกันได้แต่ก็ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนรับทาน เนื่องจากยาแก้อักเสบแต่ละชนิดนั้นมีสารประกอบบางตัวที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าตัวยาที่เราจะรับประทานคู่กันนั้นสามารถทานร่วมกันได้หรือไม่ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ยา เพราะอาจมีผลข้างเคียงตามมาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น บทความนี้จะมาแนะนำการใช้ยาลดบวม ลดอาการอักเสบเบื้องต้น ให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

ยาแก้อักเสบ คืออะไร

ยาแก้อักเสบ คืออะไร

หลายคนอาจจะยังสงสัยว่ายาแก้อักเสบนั้นรักษาอะไรได้บ้าง แล้วออกฤทธิ์อย่างไร ทำให้แผลผ่าตัดหายหรือไม่ แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ายาแก้อักเสบหรือยาต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory Drugs) นั้น คือยาที่มีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาปวด ลดอาการบวมแดงได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น สเตียรอยด์ และยาในกลุ่มเอ็นเสด เช่น ไอมู โพรเฟน บรูเฟน เป็นต้น ซึ่งสามารถทานเพื่อรักษาแผลผ่าตัดได้เพราะจะช่วยบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบของแผล โดยตัวยาแก้อักเสบก็มีหลากหลายชนิด มีทั้งตัวที่มีสเตียรอยด์และไม่มีสเตียรอยด์ ซึ่งชนิดไหนรักษาอะไรได้บ้างก็ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน เพื่อที่ผู้เชี่ยวชาญจะได้เลือกให้เหมาะสมกับอาการของคนไข้ ณ ตอนนั้น

 

รับประทานอย่างไร ให้ปลอดภัย

รับประทานยาลดบวม ลดอักเสบ อย่างไร ให้ปลอดภัย

การมองหายาลดอาการบวม อักเสบเพื่อรักษาแผล ให้สมานได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยาลดบวมหลังศัลยกรรม หรือหลังประสบอุบัติเหตุก็ต้องระมัดระวังในการหามารับประทาน ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อที่จะรับประทานกลุ่มยาลดอาการบวม ลดอักเสบได้อย่างปลอดภัยก็ต้องปฏิบัติตามข้อควรระวังต่อไปนี้

  • แจ้งปัญหาสุขภาพให้แพทย์หรือเภสัชกรรับทราบ ไม่ว่าจะเป็นยา อาหารเสริม วิตามิน โรคประจำตัว ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาร้ายแรงระหว่างยาและผู้ป่วยที่อาจส่งผลอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะกับคนที่มีประวัติโรคภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคตับหรือไต ที่จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมาก
  • ผู้หญิงและเด็กควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ โดยเฉพาะกับสตรีมีครรภ์ กำลังให้นมบุตรหรือวางแผนที่จะมีบุตร เนื่องจากยาลดอาการบวม อักเสบบางชนิดนั้นเป็นอันตรายต่อตับและสมองของทารกและเด็กต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งอาจนำไปสู่กลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • อ่านฉลากยาก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ของยา ก่อนรับประทานยาใด ๆ ควรที่จะคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ยาเป็นหลัก ต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียด เนื่องจากยาบางชนิดมีคุณสมบัติที่คลายคลึงกันเช่น ยาพาราเซรามอลไม่สามารถทดแทนยาแก้อักเสบได้
  • รับประทานในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม ยาลดอาการบวม อักเสบแต่ละชนิดก็มีปริมาณและข้อบ่งใช้ที่ไม่เหมือนกัน จึงควรที่จะอ่านคำแนะนำในการรับประทานก่อนเสมอ เนื่องจากการรับประทานยาต่อเนื่องกันเป็นอันตรายนั้นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพราะอาจมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูงเมื่อต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน โดยทั่วไปยาลดบวมช้ำ แก้อักเสบตามร้านขายยานั้นไม่ควรที่จะรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันและควรที่จะเริ่มรับประทานจากปริมาณที่ต่ำที่สุด
  • สังเกตอาการหลังรับประทานยา เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องติดตามอาการ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ให้ตัวเราแน่ใจว่าจะไม่มีอาการผิดปกติอะไรเกิดขึ้น กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาลดบวมหลังศัลยกรรม ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน แม้ว่าส่วนใหญ่สารประกอบจะมาจากธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่มีการเกิดอาการแพ้ตัวยาขึ้น
  • พบความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์โดยทันที ตัวยาลดบวม แก้อักเสบอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการรับประทานได้ จึงควรที่จะสังเกตว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อยในยาลดอาการบวม อักเสบนั้นได้แก่ รู้สึกระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดท้อง ท้องเสีย วิงเวียน ถ้าสังเกตพบอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาแก้อักเสบ ลดอักเสบและยาปฏิชีวนะ

หลายครั้งที่ผู้คนเดินเข้าร้านขายยาด้วยความเข้าใจผิดว่า ยาแก้อักเสบนั้นเป็นยาปฏิชีวนะ ทำให้คนเข้าใจว่าเมื่อมีอาการไข้ ไอ หรือเจ็บคอจะต้องหายาปฏิชีวนะมารับประทาน ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ยาปฏิชีวนะเป็นยาต้านแบคทีเรีย แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือลดอาการการอักเสบได้ เพราะยานี้จะใช้เมื่อเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ส่วนยาแก้อักเสบสามารถใช้กับอาการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาอาการปวด ลดบวมแดงได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการที่เข้าใจว่ากินยาปฏิชีวนะจะช่วยให้หายเร็วขึ้น นั้นไม่เป็นเรื่องจริง ซึ่งพฤติกรรมที่เข้าใจผิดระหว่างยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบนั้นก็พบได้บ่อยครั้ง จุดนี้สามารถถามความเข้าใจกับเภสัชกรได้โดยตรง หรือบอกอาการให้เภสัชกรทราบ เพราะเภสัชกรก็จะได้จัดหายาได้ตรงกับกลุ่มอาการของผู้ป่วยและจัดสรรได้ถูกว่าเหมาะกับยี่ห้อไหนดี ดังนั้น ต้องแก้ไขความเข้าใจผิดก่อนว่า

  • ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ ไม่ควรเรียกสลับกันเพราะมีข้อบ่งใช้ที่ต่างกัน
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อไวรัส
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ยาแก้อักเสบจะหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาก็ต้องปรึกษาหรือได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนรับประทาน หากต้องการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดบวมร่วมกันกับยาแก้อักเสบ ก็อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีเครื่องหมาย อย. จากองค์การอาหารและยารับรอง เมื่อเราทราบเลขอย. แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องของเลข อย. ผ่านเว็บไซต์ขององค์การอาหารและยาโดยตรง เพราะมีโอกาสเกิดการปลอมแปลงตัวเลขในอาหารเสริมขึ้นได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริโภคเอง

Share :

Recent Post

About Us

ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากความอยากสวยของเจ้าของแบรนด์ คุณอุ๊ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองจนกว่าจะได้สูตรที่ดีที่สุด จึงมั่นใจที่จะแบ่งปันให้ทุกคนได้รับในสิ่งที่ดีด้วยค่ะ

สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย
นีโอล่า..ท้าพิสูจน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้มีความสำคัญต่อการให้บริการบนเว็บไซต์แก่คุณและเพื่อให้คุณสามารถใช้คุณลักษณะบางอย่างได้ คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้งานและช่วยป้องกันการปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้งาน หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้เราอาจไม่สามารถให้บริการแก่คุณได้ เราใช้คุกกี้ดังกล่าวนี้เพื่อให้บริการแก่คุณ

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้ใช้งานบนไซต์ของเรา รวมถึงทำให้เราเข้าใจถึงวิธีการที่ผู้ใช้งานใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์เรา เช่น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

บันทึกการตั้งค่า